การพัฒนาแบบบันทึกสัญญาณชีพในงานวิกฤตทารกแรกเกิด

PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันพุธที่ 02 พฤษภาคม 2012 เวลา 11:04 น.

ชื่อ-สกุล สุกันติมา ทวีทอง  หอผู้ป่วย วิกฤตทารกแรกเกิด (NICU) รพ.ยะลา

กระบวนการในการวิเคราะห์ปัญหา ใช้การทำ RCA ภายหลังเกิดความเสี่ยง late sign และ IV leakage

ประเด็นสรุปผลงาน

  1. 1.หลักการและเหตุจูงใจ

สัญญาณชีพ (vital sign) คือสัญญาญาณที่บ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพของบุคคล สัญญาณชีพ

ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพสามารถบ่งบอกถึง
การเปลี่ยนแปลงในการทำหน้าที่ของร่างกายได้ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาทางหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด รพ.ยะลา ใช้การบันทึกสัญญาณชีพด้วยแบบบันทึกรุ่นเก่าซึ่งมีแต่ข้อมูลสัญญาณชีพพื้นฐาน เช่น อุณหภูมิกาย ความดันโลหิต อัตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ และค่าออกซิเจนในกระแสเลือด (SpO2) ไม่ครอบคลุมรายละเอียดข้อมูลผู้ป่วย เช่น อายุและปัญหาของผู้ป่วยที่ยังคงอยู่และไม่สร้างแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่เกิดความสนใจที่จะลงบันทึกทุก 1 ชั่วโมงตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยหนัก จึงได้มีการพัฒนาแบบบันทึกสัญญาณชีพรุ่นที่ 2 ขึ้นโดยเพิ่มรายละเอียดของช่องเวลาระบุทุก 1 ชั่วโมงเริ่มตั้งแต่ 01.00 ถึง 24.00 น. (บันทึกรายวัน) เพื่อกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ได้ลงบันทึกสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง แต่แบบบันทึกรุ่น 2 ยังไม่ครอบคลุมการสังเกตอาการอื่นๆ เช่น IV leakage, Intake-output และค่าความเป็นกรด-ด่างในเลือด จึงเกิดการพัฒนาแบบบันทึกรุ่น 3 ขึ้นครอบคลุมข้อมูลทางกายและการเฝ้าระวังการเกิดความเสี่ยง มีประโยชน์ต่อการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยและการรายงานแพทย์

แก้ไขล่าสุด ( วันพุธที่ 02 พฤษภาคม 2012 เวลา 11:06 น. )
 
free pokereverest poker revie
Contact us ได้ที่ researchyala@hotmail.com
ผู้ประสานงาน : พรส. โทร 526 . 276