การพัฒนาความรู้โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน (PRA)

PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันพุธที่ 02 พฤษภาคม 2012 เวลา 11:40 น.

“โครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวง  ทรงห่วงใยสุขภาพประชาชนฯ”

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

          จากสภาพปัญหาในพื้นที่ พบว่า ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน จากการสำรวจโดยวิธีทุติยภูมิ พบว่าชุมชนมีปัญหาสุขภาพในเรื่องเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง โดยพบกลุ่มป่วยเป็นความดันโลหิตสูงในหมู่ที่ ๕ จำนวน    ๒๑   ราย ในหมู่ที่ ๖ จำนวน ๒๗ รายและป่วยด้วยโรคเบาหวานในหมู่ที่ ๕ จำนวน ๑๓ ราย หมู่ที่ ๖ จำนวน ๑๒ ราย (กลุ่มป่วยอยู่ในช่วงอายุ ๕๕ – ๗๘ ปี) สอดคล้องกับผลการทำประชาคมที่พบว่ากลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพิ่มมากขึ้น การขาดการออกกำลังกาย ตัวแทนประชากรมีความเห็นว่าชุมชนขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ในการออกกำลังกายพบว่าในชุมชนหมู่ที่ ๕ และ ๖ ประชาชนขาดการออกกำลังกาย เนื่องจากไม่มีสถานที่ในการออกกำลังกาย และขาดกิจกรรมการออกกำลังกายร่วมกันของคนในชุมชน การบริโภคอาหาร  ตัวแทนประชากรในชุมชนให้ข้อคิดเห็นว่า กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้สูงอายุมีการบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนเน้นการบริโภคอาหารมัน เค็ม หวาน บริโภคผักผลไม้ที่มีกากใยน้อยมากในแต่ละมื้ออาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร เช่น จำนวนมื้ออาหาร พบว่าคนในชุมชนรับประทานอาหารครบทุกมื้ออาหารแต่ต่างกันที่เวลาในการรับประทานอาหารไม่เล็งเห็นความสำคัญของการรับประทานอาหารตรงเวลา ซึ่งสอดคล้องกับผลการสังเกตการณ์จัดทำเวทีประชาคม พบว่า ความต้องการของชุมชน คือต้องการความรู้เรื่องการดูแลอาหารที่ถูกต้องของคนในชุมชน โดยให้ชุมชนมีโอกาสเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการด้านอาหารของคนในชุมชนร่วมกัน และส่งเสริมด้านอาหารให้กับกลุ่มผู้สูงอายุและสอดคล้องจากการทำประชาคมหมู่บ้านที่พบว่า พฤติกรรมบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม ป้องกันโรคและการจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งเป็นหน่วยบริการด่านแรกของชุมชนในการจัดบริการแบบองค์รวม และการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ (Community Participation Model of Health Promotion) ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพโดยการนำกระบวนการ กิจกรรม และแนวทาง สำหรับการดำเนินงาน เกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อส่งเสริม และเกื้อหนุนให้บุคคล ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนในทุกด้าน แบบองค์รวมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีการดูแลสุขภาพชุมชนแบบผสมผสานอย่างเป็นระบบ และได้มาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงการบริการอย่างหลากหลาย สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดระบบบริการที่มีคุณภาพร่วมกันโดยชุมชน เพื่อชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

 

แก้ไขล่าสุด ( วันพุธที่ 02 พฤษภาคม 2012 เวลา 11:42 น. )
 
free pokereverest poker revie
Contact us ได้ที่ researchyala@hotmail.com
ผู้ประสานงาน : พรส. โทร 526 . 276