ตกผลึกยุทธศาสตร์หยุดยั้งวัณโรค เครือข่ายโรงพยาบาลยะลา ปีงบประมาณ 2552

PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันพุธที่ 02 พฤษภาคม 2012 เวลา 11:42 น.

บทคัดย่อ

 

     การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์      เพื่อประเมินผลยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานควบคุม

วัณโรค เครือข่ายโรงพยาบาลยะลา  ในปี 2552  ซึ่งประกอบด้วย    1. การพัฒนาบุคลากร ทีมงานเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดยุทธศาสตร์การดำเนินงานควบคุมวัณโรคอย่างต่อเนื่อง    2. บุคลากรในโรงพยาบาล ลดความกังวลต่อการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค    3. พัฒนาระบบบริหารจัดการ สร้างมาตรฐานด้านเวชระเบียนสามารถตรวจสอบได้      4. พัฒนาคุณภาพบริการ ผู้ป่วยและญาติได้รับความรู้การดูแลตนเองจากทีมงาน   และได้รับคำปรึกษาการใช้ยา HIV บวก โดยเภสัชกรทุกราย   5. มีระบบการส่งต่อและเยี่ยมติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องวิธีการประเมินโดยใช้การประเมินผลการรักษาผู้ป่วยตามแนวทางควบคุมวัณโรคแห่งชาติ   

 

      พบว่า ในปี 2552 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะบวกขึ้นทะเบียนรักษา 57 ราย ผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ 3 ราย  ไม่มีผู้ป่วยรักษาซ้ำหลังจากล้มเหลว     การประเมินผลการรักษาในผู้ป่วยรายใหม่เสมหะบวก 57 ราย (HIV ลบ 49 ราย HIV บวก 8 ราย)    เมื่อสิ้นสุดระยะเข้มข้น    พบว่าเสมหะเปลี่ยนเป็นลบหลังรักษา 2 – 3  เดือน 53 ราย (ร้อยละ 93.0)    เสียชีวิตระหว่างการรักษาระยะเข้มข้น 4 ราย ร้อยละ 7.0 (HIV ลบ 3 ราย HIV บวก 1 ราย)   ไม่มีผู้ป่วยขาดยาติดต่อกันนานเกิน 2 เดือน  ส่วนการประเมินเมื่อสิ้นสุดการรักษา พบว่า รักษาหาย 52 ราย (ร้อยละ 91.2)  รักษาครบ 1 ราย (ร้อยละ 1.8)  รักษาสำเร็จ 53 ราย (ร้อยละ 93.0) ผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างรักษา 4 ราย ร้อยละ 7.0 (HIV ลบ 3 ราย HIV บวก 1ราย)  ไม่มีผู้ป่วยขาดยาติดต่อกันนานเกิน  2  เดือน

 

      ในกลุ่มผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ จำนวน 3 ราย (HIV ลบ 2 ราย HIV บวก 1 ราย) พบว่าเสมหะเป็นลบ เมื่อสิ้นสุดระยะเข้มข้น   และผลการประเมินเมื่อสิ้นสุดการรักษาต่อเนื่อง พบว่า รักษาหาย 2 ราย (ร้อยละ 66.7)   เสียชีวิตระหว่างการรักษา เป็นผู้ป่วย HIV บวก 1 ราย (ร้อยละ 33.3)

 

                 จากรายงานของสำนักวัณโรค   ซึ่งประเมินผลการรักษาของสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2550 พบว่า มีอัตราผลสำเร็จการรักษา (Success rate)  เพียงร้อยละ ๘๓   ในปี 2548-2551  เครือข่ายโรงพยาบาลยะลา     ผลสำเร็จการรักษาเพียงร้อยละ 68.3,  72.๒,  84.3,  86.8   เสียชีวิตระหว่างรักษาร้อยละ 19.0, 23.0, 11.8, 13.2  ตามลำดับ     ดังนั้นการดำเนินงานวัณโรคของเครือข่ายโรงพยาบาลยะลา จึงเน้นการทำงานเป็นทีม โดยสหวิชาชีพ ทำให้เกิดกระบวนการดูแลผู้ป่วยวัณโรค การส่งต่อและติดตามผู้ป่วยผิดนัดอย่างเป็นระบบ ไม่มีผู้ป่วยขาดยาติดต่อกันเกิน 2 เดือน   ทำให้ผลของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดีขึ้นอย่างชัดเจน  และกำลังดำเนินการค้นหาผู้ป่วยเสมหะบวกเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง  เพื่อแก้ปัญหาการเสียชีวิตระหว่างรักษา และลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล      โดยทำการลดระยะเวลาผู้ป่วยสงสัยวัณโรคออกจากห้องฉุกเฉิน  มีระบบทางด่วนส่งตรวจเสมหะ     ส่งตัวผู้ป่วยสงสัยวัณโรคเข้าห้องแยกโรคให้เร็วขึ้น

แก้ไขล่าสุด ( วันพุธที่ 02 พฤษภาคม 2012 เวลา 11:43 น. )
 
free pokereverest poker revie
Contact us ได้ที่ researchyala@hotmail.com
ผู้ประสานงาน : พรส. โทร 526 . 276