ลูกล้อนวดบรรเทาปวด

PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันพุธที่ 02 พฤษภาคม 2012 เวลา 11:45 น.

ชื่อหน่วยงาน  ห้องคลอดโรงพยาบาลยะลา

ผู้รับผิดชอบ  นางอุบลวรรณ  ยะมะลี และนางนวรัตน์  ไวชมภู

 

ที่มาของปัญหา

          การคลอดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแต่ก็เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ความรู้สึกไม่สุขสบาย  และความทุกข์ทรมานในการคลอดเป็นอย่างมาก  (Rocci, 2007 อ้างตาม วารีรัตน์, 2552) ความเจ็บปวดในการคลอดเป็นความรู้สึกไม่พึงพอใจ  และเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลโดยมีประสาทสัมผัสและอารมณ์เป็นส่วนประกอบ  เป็นความรู้สึกที่ไม่น่ายินดี และเป็นอาการที่แสดงถึงความตึงเครียดของบุคคลนั้นๆ ที่แสดงออกมาโดยผู้คลอดเป็นผู้บอกเอง  (Leifer , 2007  อ้างตาม  วารีรัตน์ ,2552)

   ความเจ็บปวดในการคลอดเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก  นอกจากนี้การเกิดความเจ็บปวดยังเกิดจากการส่งกระแสประสาทความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งการจัดการกับความเจ็บปวดจะมีหลากหลายวิธีให้เลือกใช้ แต่ก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำมาใช้ด้วย  การนวดเป็นวิธีการหนึ่งในการบรรเทาอาการปวดครรภ์ที่จะช่วยบรรเทาปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และเหมาะสมกับบริบทของผู้คลอดตามโรงพยาบาล  การนวดเป็นวิธีที่สะดวก  ง่าย  ประหยัดค่าใช้จ่าย  และจากการศึกษาทั้งในและต่างประเทศก็พบว่าสามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้ดี  (วารรีรัตน์,2552) การนวด เป็นการกระตุ้นใยประสาทขนาดใหญ่เป็นการใช้มือทั้งสองข้างลูบคลึง บีบ ม้วน ที่กล้ามเนื้อบริเวณกระดูกก้นกบ ไหล่ หน้าขา  เนื่องจากความเจ็บปวดในระยะที่ 1 ของการคลอด เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกส่วนบน การยืดขยายของมดลูกส่วนล่าง การบางตัวและการเปิดขยายของปากมดลูก กระแสประสาทนำเข้าจะร่วมไปกับประสาทซิมพาธิติคความเจ็บปวดจะเดินทางผ่านจากข่ายประสาทของมดลูกไปที่ข่ายประสาทเชิงกรานผ่านข่ายประสาทท้องน้อยล่าง-กลาง-บน (inferior-middle-superior hypogastric plexus) และเข้าสู่ประสาทไขสันหลังโดยผ่านประสาทส่วนเอวที่ 1 และประสาทส่วนอกที่ 12, 11 และ 10 จากนั้นกระแสประสาทจะถูกส่งต่อไปยังสมองโดยผ่านก้านสมองไปยังธาลามัสไปที่เปลือกสมอง (cerebral cortex) เพื่อแปลความรู้สึกเจ็บปวดต่อไป ดังนั้นการนวดเพื่อกระตุ้นใยประสาทใต้ผิวหนังในบริเวณดังกล่าวจะสามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้ ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามทฤษฎีควบคุมประตู จากกระบวนการของโครงสร้างระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วยใยประสาทการรับรู้ ทำหน้าที่ปรับสัญญาณนำเข้าระหว่างพลังประสาท 2 กลุ่มคือ พลังประสาทจากใยประสาทขนาดเล็ก และพลังประสาทจากใยประสาทขนาดใหญ่ โดยพลังจากใยประสาทขนาดเล็กจะไปเปิดประตูทำให้เกิดความเจ็บปวดเกิดขึ้น ส่วนพลังจากใยประสาทขนาดใหญ่จะไปปิดประตูที่บริเวณซับสแตนเชียล จิลาทิโนซา ทำให้กระแสความเจ็บปวดไม่สามารถเดินทางเข้าสู่ไขสันหลัง ไปยังสมองส่วนธาลามัส และสมอง (Chang et al., 2002 อ้างตาม วารีรัตน์, 2552)  ซึ่งการนวดบรรเทาปวดนั้นต้องใช้มือของผู้นวดในการนวดบรรเทาอาการปวดส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยล้าของผู้นวด ผู้จัดทำเห็นความสำคัญในการนวดบรรเทาอาการปวดครรภ์ในระยะที่ 1 ของการคลอด เพื่อให้ผู้คลอดสามารถเผชิญอาการปวดครรภ์คลอดที่เหมาะสม  ช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอด ซึ่งการนวดด้วยมือนั้นอาจส่งผลต่อความเมื่อยล้าของผู้นวดดังนั้นอุปกรณ์ในการช่วยนวดจึงมีความสำคัญในการส่งเสริมให้การนวดดำเนินอย่างต่อเนื่อง ผู้จัดทำจึงได้จัดทำนวัตกรรม “ลูกล้อนวด” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการนวดบรรเทาอาการปวดในระยะที่ 1 ของการคลอด ซึ่งผลการจัดทำนวัตกรรมลูกล้อนวดครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการปวดครรภ์ที่สะดวก  เพิ่มความสุขสบายให้แก่ผู้คลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Attachments:
FileคำอธิบายFile size
Download this file (29. ลูกล้อนวดบรรเทาปวด (ห้องคลอด).pdf)29. ลูกล้อนวดบรรเทาปวด (ห้องคลอด).pdf 1501 Kb
แก้ไขล่าสุด ( วันพุธที่ 02 พฤษภาคม 2012 เวลา 11:53 น. )
 
free pokereverest poker revie
Contact us ได้ที่ researchyala@hotmail.com
ผู้ประสานงาน : พรส. โทร 526 . 276